Google Search Console กับการทำ SEO

Search console กับ SEO

ในสายการทำ SEO มี Tools จาก Google ที่เราควรจะเรียนรู้ เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Google Search Console นั้นเอง

Search Console คือ เครื่องมือช่วยจาก Google ที่จะคอยสอดส่อง เหตุการณ์ที่จะเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา หรือเป็น Tools ที่จะช่วยให้เราติดต่อกับ Robots ได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น

ทำไมเราต้องใช้ Google Search Console

  1. เพื่อยืนยัน Website และเรียกให้ Robot รู้จักเว็บไซต์ของเรา
  2. เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่า GoogleBot เห็นเว็บไซต์ของเราได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่
  3. เพื่อใช้ตรวจสอบดัชนี webpages ของคุณให้ครอบคลุม และแจ้งให้ programmer แก้ไข
  4. เพื่อใช้ในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของเรา

แล้วประโยชน์ของ Search console ที่ว่านี้ มันช่วยเราในเรื่องของการทำ SEO ได้อย่างไรกัน? ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า หลักการของการทำงานของ Search Engine จะมีทำงาน 3 แบบด้วยกัน คือ

Crawl = การวิ่งไปหาและจัดเก็บข้อมูล

Index = การนำข้อมูลที่ได้มาจัดเก็บและเรียบเรียงในฐานข้อมูล

Ranking = การนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาจัดทำอันดับ เมื่อมีคนมาค้นหา

ซึ่งในส่วนการ Crawl และ การ Index นี้ มีผลเป็นอย่างมากในการจัดอันดับในส่วนที่ 3 (Ranking) เพราะถ้าเราเรียก Crawler เข้ามาเก็บกวาดข้อมูลไปไม่ทั่ว อันดับเราก็จะไม่ติด หรือมาแล้ว เก็บไปไม่ได้ ไม่ดี อันดับก็ไม่ติดอีกเช่นกัน ดังนั้น Search Console จึงเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เรารู้จักว่า Robots วิ่งเข้ามาเก็บและเอาข้อมูลอะไรไปแล้วดี ไม่ดีอย่างไร

เมื่อเริ่มใช้ Search Console สิ่งที่ทำง่ายๆ อย่างแรก และเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เลยก็คือ

การยืนยันตัวตน หรือเป็นการระบุให้ Robots เข้ามารู้จักเว็บไซต์ของเราไปนั่นเอง ซึ่งขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนเริ่มแรกในการใช้งาน Search console เพราะเราต้องใส่ชื่อ domain หรือ ชื่อ url ของเรา เพื่อ Robots เข้ามารู้จักนั่นเอง โดยไปที่ g.co/searchconsole

การยืนยันตัวตนบน Search Console

ส่วนต่อมา ที่เราต้องรู้คือ การให้ Robots (Crawler) วิ่งเข้าไปเก็บข้อมูลให้ทั่วทั้งเว็บไซต์ ซึ่งทำได้ง่ายๆ โดยการใส่ Sitemap เข้าไปในระบบ

โดยเราก็สามารถ เพิ่ม Sitemaps เข้าไปที่ เมนู “แผนผังเว็บไซต์” แล้วใส่ Sitemap ของเราลงไปในระบบได้เลย

โดยการใส่ sitemaps ให้ Robots เข้ามาเก็บข้อมูล เราจะส่งเป็น url ที่เป็นลักษณะ .xml เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น โดยบางเว็บ จะเป็น www.xxx.com/sitemap.xml หรือ ถ้าใช้ tools เสริมใน CMS ต่างๆ เช่น wordpress ก็อาจจะเป็น www.xxx.com/sitemap_index.xml  เป็นต้น

และหากใครไม่มี หรือสงสัยว่า เราจะทำ Sitemap เข้าในระบบได้อย่างไร เราสามารถไปสร้างได้ฟรีในหลายเว็บไซต์ แค่พิมพ์คำว่า “sitemap generator” เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ส่งให้ programmer นำขึ้นเว็บ แล้วเรานำ url นี้มาใส่ใน Search Console กันเลยค่ะ

sitemap xml

อีกส่วนที่ต้องรู้ คือ ส่วนที่ 2 ของ Search Engine คือ Index ตรงนี้ Search Console ก็เข้ามาช่วยเราด้วยเช่นกัน โดยใช้ เมนู “ความครอบคลุม” ใน Tab “ดัชนี”

เราจะเห็นได้ว่า มีการดัชนี (index) ที่มีความผิดพลาด, ถูกต้อง อะไร อย่างไรบ้าง? ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าเว็บเพจของเราได้ (หรือส่งให้ programmer แก้ไขตามคำแนะนำที่ google แจ้งมา)

และหากเกิดปัญหาแล้วเราทำการแก้ไขหน้าเพจนั้นเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำ url นั้นมาใส่ที่ “การตรวจสอบ URL” ได้เลย เมื่อตรวจสอบเสร็จระบบจะทำการแจ้งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้เราไปแก้ไข

ตรวจสอบ URL

แต่ถ้าใครตรวจสอบแล้ว พบว่า “URL นี้ไม่ได้อยู่ใน Google” ให้ทำการแก้ไขตามคำแนะนำของผลการค้นหา แล้วกดที่ “ขอการทำดัชนี”  (ReIndex) ระบบจะตรวจสอบและทำการจัดเก็บ Index ของเราให้เข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของ Google

ReIndex Search Console

และต่อไป หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ที่ทำให้เราติดต่อกับ Crawler ไม่ได้ มันก็จะแจ้งเตือนเราใน Search Console นี้ให้ตลอดเวลา หรือถ้าเรียกง่ายๆ คือ Search Console คือ เครื่องมือที่เราใช้ติดต่อกับ Robots ของ google นั่นเอง ทั้งนี้ ใน Search console ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจ หากใครสนใจเรื่องเกี่ยวกับ SEO ติดต่อสั่งซื้อหนังสือ “ไต่อันดับเพิ่มยอดขายด้วย SEO” ที่ ajgoople@gmail.com หรือที่ สำนักพิมพ์ Provision ได้เลยค่า

ท้ายนี้ ใครขี้เกียจไปทำเอง ส่งงานมาได้ที่ ajgoople@gmail.com นะคะ ^__^

seo book
เพิ่มยอดขาย ไต่อันดับด้วย SEO
Scroll to Top